วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 19  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"

แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
   
 ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้ฝึกอ่านคำกับภาพที่นำมารวมเป็นเรื่องราว
น้องมาลีเธอช่างโอโมเราเลยหลงรักเห็นแล้วอยากใกล้ชิด
และอยากเทคแคร์แต่แม่เธอคือมาดามเฮงซึ่งมีเซฟการ์สคอยป้องกัน
น้องอยู่ตลอดส่วนเรามันก็แค่ชาวเกาะเราเลยต้องทำใจ

1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approach)
     - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
     - การประสมคำ
     - ความหมายของคำ
     - นำคำมาประกอบเป็นประโยค
     - การแจกรูปสะกดดคำ การเขียน
การแจกลูกคำ เช่น กู งู ดู พู

     - ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
     - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู็ภาษาของเด็ก

"Kenneth Goodman"
     - เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
     - มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
     - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
Goodman
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
     - สนใจ อยากรู้อยาากเห็นสิ่งรอบตัว
     - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
     - มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
     - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
     - เลียนแบบคนรอบข้าง

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

"Dewey/Piaget/Vygotsky/Haliday"
     - เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
     - เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
     - อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

"การสอนแบบธรรมชาติ"
     - สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
     - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
     - สอนในสิ่งใกล้ตัวเด็ฏและอยู่ในชีวิตประจำวัน
     - สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
     - ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
     - ไม่บังคับให้เด็กเขียน
การสอนแบบธรรมชาติ
"หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ"
     นฤมล เนียมหอม (2540)
1.การจัดสภาพแวดล้อม
     - ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
     - หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
     - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อสารที่มีความหมาย
     - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
     - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
     - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส

เด็กจะเข้าใจตรงกันว่านี้คือ ช้อน
3.การเป็นแบบอย่าง
     - ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
     - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
ห้ามเลี้ยวซ้ายแต่ใช้ภาพว่าห้ามเลี้ยวขวา

4.การตั้งความคาดหวัง
     - ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
     - เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะเน
     - เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
     - เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน อาจมีผิดบ้างถูกบ้าง
     - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
     - ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
     - ยอมรับการอ่านและเขียนของเด็ก
     - ตอบสนองเด็ฏให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7.การยอมรับนับถือ
     - เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
     - เด็กเลือกจะเรียนรู้ด้วยตนเอง
     - ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
     - ใหเด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
     - ครูจะต้องเข้าใจเด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
     - ไม่ตระหนักเด็กว่าไม่มีความสามารถ
     - เด็ฏมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

"บทบาทครู"
     - ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
     - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
     - ครูยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
     - ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

อาจมีการทำกิจกรรมโดยใช้ภาพกับภาษามาใช้รวมกันดังนี้
เพลงแปรงฟัน
แปรงซิแปรงแปรงฟัน
ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน
ตาหูจมูกจับให้ถูก
จับจมูกตาหู
จับใหม่จับให้ฉันดูจับใหม่จับให้ฉันดู
จับจมูกตาหู
จับหูตาจมูก

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
   รู้แนวการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่าเราควรจัดแบบใดจัดอย่างไร และครูไม่ควรคาดหวังหรือเปรียบเทียบเด็ก เพราะให้ครูตระหนักไว้ว่าเด็กทุกคนแตกต่างกัน
การนำไปใช้
   ใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้องและให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น