บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น. เวลาเข้าเรียน : 13.10 น. เวลาเลิกเรียน :
16.40 น.
กลุ่ม 8
จากสัปดาห์ที่แล้วเพื่อนๆยังไม่ได้รายงาน
จากการฟังบรรยายวีดีโอ
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก
ลำดับขั้น
1. อายุ0-2 ปี >> ทดลองใช้พฤติกรรม ลองผิดลองถูก
2. อายุ2-4 ปี >> เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์
3. อายุ5 ปี >> เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับขนาด
พัฒนาการ
กระบวนการพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นอตน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา
1. ความสามารถทางภาษา
1. ความสามารถทางภาษา
2. ความสามารถทางตัวเลข
3. ความสามารถทางการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
5. ความสามารถทางความจำ
6. ความสามารถทางเชิงสังเกต
7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
โครงสร้างของสติปัญญา (สติปัญญาเน้นสร้างและระดับทางการคิด)
1. การรับรู้
2. ความจำ
3. การเกิดความคิดเห็น
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี
พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี
พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
ของที่รักที่สุดในวัยเด็ก |
อาจารย์ให้วาดภาพของที่รักที่สุดในวัยเด็ก คือ ตุ๊กตาอุ่นรัก อุ่นไอ
ความรู้สึกที่เลือกของสิ่งนี้เพราะ : เมื่อเวลาจะสุขหรือเศร้าเราสามารถบอกกับตุ๊กตาได้ อบอุ่นเหมือนอยุ่บ้านจะนำติดตัวไปด้วยตลอด เคยนั่งร้องไห้กับตุ๊กตาแล้วหลายรอบ ความรู้สึกเหมือนตุ๊กตาสองตัวนี้ตอบกลับความรู้สึกและคอยปลอบเราอยู่
การจัดประสบการณ์ให้เด็กง่ายๆ ควรจะให้เด็กบรรยายตามภาพง่ายที่สุด
องค์ประกอบของภาษา
1. Phonology (เสียง)
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำ เป็นภาษา
รูป จ/า/น
2.Semantic (ความหมาย)
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
รูป
3. Syntay (ไวยากรณ์)
- คือระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค
4. Pragmatic (การนำไปใช้)
- คือระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเด็กโดยใช้แรงเสริมไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ)1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
Skinner |
2. John B. Watson
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่ที่จะสามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม
John B. Watson |
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
1. Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
Piaget |
2. Vygotsky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคมบุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
Vygotsky |
3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
1. Arnold Gesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
Gesell |
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
1. Noam Chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์ที่เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
Noam Chomsky |
2. O. Hobart Mower
- คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
" จะนึกถึงคำพูดคำแรกที่เด็กพูด เกิดจะความสามารถในการฟังเพลง ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเลข เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา"
Hobart Mower |
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
- นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
- เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำ วลี หรือประโยค
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
- การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
- ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
สิ่งที่ได้จากการเรียน
ได้รู้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปจากข้อมูลเดิมได้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับภาษารู้จักนักทฤษฎีต่างๆมากขึ้น
การนำไปใช้
ได้รู้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปจากข้อมูลเดิมได้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับภาษารู้จักนักทฤษฎีต่างๆมากขึ้น
การนำไปใช้
เอาข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้รู้และข้อมูลต่างๆ ไปประกอบการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น