วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 20  เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2                       เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.25 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"
ความหมายของภาษา
     ภาษา  หมายถึง  การสื่อความหมายในตัวบุคคลแล้วเข้าใจตรงกัน
     ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
     ภาษาไม่จำเป็นต้องเป็นแค่คำพูดอาจเป็นท่าทางหรือรูปภาพก็ได้
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย
     การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
     การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญาเด็กต้องเรียนรู้ผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กมีทักษะที่ดี
กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
1.การดูดซึม  (Assimilation)
     เป็นกระบวนการที่เด็ฏได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น เด็กๆจะเข้าใจว่าทุกอย่างที่มีปีกจะเรียกว่านก

นกแบบนี้เด็กๆก็เข้าใจว่านก
เครื่องบินมีปีกเด็กๆก็เข้าใจว่านก
ผีเสื้อมีปีกเด็กๆก็เข้าใจว่านก
2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)
     เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เช่น เด็กๆจะรุ้เพิ่มมากขึ้นว่า สัตว์ที่มีปีก บินได้ ปากแหลมๆ ร้องจิ๊บๆ เรียกว่านก
เด็กๆเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าสัตว์มีปีก บินได้ ร้องจิ๊บๆ เรียกว่านก
เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
     Piaget ได้แบ่งพัฒนาด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา  ดังนี้
1) ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด-2ปี  เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว  เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2) ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล  (Preopertional  Stage)
     2.1ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 
     2.2ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ
4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
     เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก คุยกับเด็กต้องมีเสียงที่แตกต่างกันเพื่อกระตุ้นเด็กให้สนใจ


จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
     วัยความสามารถและประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
     อิทธิพลทางพันธุกรรม
     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
     การเห็นบ่อยๆ
     การทบทวนเป็นระยะๆ
     การจัดหมวดหมู่
     การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม
     แรงเสริมทางบวก (ให้คำชมเชย กอด การยกนิ้วชม) 
     แรงเสริมทางลบ (ว่ากล่าวตักเตือน)

สื่งที่ได้รับจากการเรียน
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับภาษาในเบื้องต้น
2.เรียนรู้ว่าเราควรใช้เสียงที่เป็นจังหวะให้เด็กเกิดความสนใจ
3.ได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การนำไปใช้
1.นำความรู้ไปใช้ในระดับต่างๆ
2.เข้าใจในความเปฌนเด็กมากขึ้น
3.มีความรู้และแนวทางในการเรียนเพื่อง่ายต่อการเรียนในครั้งต่อไป
4.ทำให้เรามีความรู้พื้นฐานในการเรียนวิชานี้
5.มีความพร้อมมากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับภาษามากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น