วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 19  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"

แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
   
 ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้ฝึกอ่านคำกับภาพที่นำมารวมเป็นเรื่องราว
น้องมาลีเธอช่างโอโมเราเลยหลงรักเห็นแล้วอยากใกล้ชิด
และอยากเทคแคร์แต่แม่เธอคือมาดามเฮงซึ่งมีเซฟการ์สคอยป้องกัน
น้องอยู่ตลอดส่วนเรามันก็แค่ชาวเกาะเราเลยต้องทำใจ

1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approach)
     - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
     - การประสมคำ
     - ความหมายของคำ
     - นำคำมาประกอบเป็นประโยค
     - การแจกรูปสะกดดคำ การเขียน
การแจกลูกคำ เช่น กู งู ดู พู

     - ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
     - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู็ภาษาของเด็ก

"Kenneth Goodman"
     - เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
     - มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
     - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
Goodman
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
     - สนใจ อยากรู้อยาากเห็นสิ่งรอบตัว
     - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
     - มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
     - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
     - เลียนแบบคนรอบข้าง

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

"Dewey/Piaget/Vygotsky/Haliday"
     - เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
     - เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
     - อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

"การสอนแบบธรรมชาติ"
     - สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
     - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
     - สอนในสิ่งใกล้ตัวเด็ฏและอยู่ในชีวิตประจำวัน
     - สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
     - ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
     - ไม่บังคับให้เด็กเขียน
การสอนแบบธรรมชาติ
"หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ"
     นฤมล เนียมหอม (2540)
1.การจัดสภาพแวดล้อม
     - ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
     - หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
     - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อสารที่มีความหมาย
     - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
     - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
     - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส

เด็กจะเข้าใจตรงกันว่านี้คือ ช้อน
3.การเป็นแบบอย่าง
     - ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
     - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
ห้ามเลี้ยวซ้ายแต่ใช้ภาพว่าห้ามเลี้ยวขวา

4.การตั้งความคาดหวัง
     - ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
     - เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะเน
     - เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
     - เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน อาจมีผิดบ้างถูกบ้าง
     - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
     - ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
     - ยอมรับการอ่านและเขียนของเด็ก
     - ตอบสนองเด็ฏให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7.การยอมรับนับถือ
     - เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
     - เด็กเลือกจะเรียนรู้ด้วยตนเอง
     - ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
     - ใหเด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
     - ครูจะต้องเข้าใจเด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
     - ไม่ตระหนักเด็กว่าไม่มีความสามารถ
     - เด็ฏมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

"บทบาทครู"
     - ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
     - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
     - ครูยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
     - ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

อาจมีการทำกิจกรรมโดยใช้ภาพกับภาษามาใช้รวมกันดังนี้
เพลงแปรงฟัน
แปรงซิแปรงแปรงฟัน
ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน
ตาหูจมูกจับให้ถูก
จับจมูกตาหู
จับใหม่จับให้ฉันดูจับใหม่จับให้ฉันดู
จับจมูกตาหู
จับหูตาจมูก

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
   รู้แนวการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่าเราควรจัดแบบใดจัดอย่างไร และครูไม่ควรคาดหวังหรือเปรียบเทียบเด็ก เพราะให้ครูตระหนักไว้ว่าเด็กทุกคนแตกต่างกัน
การนำไปใช้
   ใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้องและให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 12  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5                       เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรีย: 16.40 น.

"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"

กลุ่ม 8
จากสัปดาห์ที่แล้วเพื่อนๆยังไม่ได้รายงาน
เพื่อนพูดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

จากการฟังบรรยายวีดีโอ
     พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก
ลำดับขั้น
1. อายุ0-2 ปี >> ทดลองใช้พฤติกรรม ลองผิดลองถูก
2. อายุ2-4 ปี >> เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์
3. อายุ5 ปี    >> เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับขนาด
พัฒนาการ
    กระบวนการพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นอตน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา    
     1. ความสามารถทางภาษา
     2. ความสามารถทางตัวเลข
     3. ความสามารถทางการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
     4. ความสามารถทางการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
     5. ความสามารถทางความจำ
     6. ความสามารถทางเชิงสังเกต
     7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
โครงสร้างของสติปัญญา (สติปัญญาเน้นสร้างและระดับทางการคิด)
     1. การรับรู้
     2. ความจำ
     3. การเกิดความคิดเห็น
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี
พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์



ของที่รักที่สุดในวัยเด็ก

อาจารย์ให้วาดภาพของที่รักที่สุดในวัยเด็ก คือ ตุ๊กตาอุ่นรัก อุ่นไอ
ความรู้สึกที่เลือกของสิ่งนี้เพราะ : เมื่อเวลาจะสุขหรือเศร้าเราสามารถบอกกับตุ๊กตาได้ อบอุ่นเหมือนอยุ่บ้านจะนำติดตัวไปด้วยตลอด เคยนั่งร้องไห้กับตุ๊กตาแล้วหลายรอบ ความรู้สึกเหมือนตุ๊กตาสองตัวนี้ตอบกลับความรู้สึกและคอยปลอบเราอยู่



     การจัดประสบการณ์ให้เด็กง่ายๆ ควรจะให้เด็กบรรยายตามภาพง่ายที่สุด
องค์ประกอบของภาษา
1. Phonology (เสียง)
     - คือระบบเสียงของภาษา
     - เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
     - หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำ เป็นภาษา

            รูป จ/า/น
2.Semantic (ความหมาย)
     - คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
     - คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
     - ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
          
       รูป
3. Syntay (ไวยากรณ์)
    - คือระบบไวยากรณ์
    - การเรียงรูปประโยค
4. Pragmatic (การนำไปใช้)
     - คือระบบการนำไปใช้
     - ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ 

แนวคิดนักการศึกษา
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเด็กโดยใช้แรงเสริมไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ)
     1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
       - สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
       - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง


Skinner

     2. John B. Watson
       - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
      - การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่ที่จะสามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

John B. Watson

     นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว


2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
     1. Piaget
       - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
       - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
Piaget

     2. Vygotsky
       - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
       - สังคมบุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
       - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
       - ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

Vygotsky

3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
     1. Arnold Gesell
        - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
        - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
        - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
        - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
Gesell
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
    1. Noam Chomsky
      - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
      - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
      - มนุษย์ที่เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)

Noam Chomsky
     2. O. Hobart Mower
       - คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
" จะนึกถึงคำพูดคำแรกที่เด็กพูด เกิดจะความสามารถในการฟังเพลง ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเลข เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา"

Hobart Mower

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
     - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
     - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
     1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
        - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
        - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำ วลี หรือประโยค
     2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
       - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
       - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
       - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
     3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
       - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
       - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
       - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


สิ่งที่ได้จากการเรียน
   ได้รู้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปจากข้อมูลเดิมได้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับภาษารู้จักนักทฤษฎีต่างๆมากขึ้น
การนำไปใช้
   เอาข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้รู้และข้อมูลต่างๆ ไปประกอบการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 5  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4                       เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"
 กลุ่มที่ 1

ภาษาใช้สื่อความคิดที่มีควมหมายตรงกัน  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้สื่อความหมายเข้าใจตรงกัน
ความสำคัญของภาษา
มนุษย์กำหนดขึนเพื่อให้เข้าใจกัน
   ภาษาเป็นสิ่งผสานความรัก  ความสามัคคี
   ภาษาช่วยพัฒนามนุษย์
เพื่อนโบกำลังอธิบายเนื้อหา
จากการดูบรรยายวีดีโอ
เด็กจะพูดได้สื่อความหมายช้า แต่เข้าใจความหมายอาจยังไม่เป็นคำมากนัก บางคนพูดเสียงเบา บางคนพูดเสียงดัง ก็ขึ้นอยู่กับการแสดงออกแต่ละคน เด็กจะแสดงออกได้ดีเมื่ออยู่กับเพื่อน


กลุ่มที่ 2

แนวคิดของนักทฏษฎี

Chomsky
นักจิตวิทยาด้านภาษาได้ศึกษา เด็กต้องมีแรงจูงใจในการสื่อสาร

เพียเจต์
เด็กต้องมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติโดยผ่านการเล่นและกิจกรรมต่างๆ

จอห์น ดิวอี้
เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

ไวก๊อตสกี้
เด็กเกิดการเรียนรู้จากตนเอง  ผ่านบุคคลและสภาพแวดล้อม  ผ่านสัญลักษณ์และกิจกรรม
เพื่อนอธิบายเนื้อหา

กลุ่ม 3

พัฒนาการทางสติปัญญา
อายุแรกเกิด - 2 ปี-  ลูกจะใจจดจ่อกับใบหน้าของพ่อแม่ ลูกจะจดจำใบหน้าของพ่อแม่
อายุ  4 สัปดาห์-  เมื่อยืนหน้าใกล้ทารกจะเห็นหน้าทารก เด็กจะพยายามเลียนแบบ
อายุ  6 สัปดาห์-  จะยิ้มไล่หลังพ่อแม่ และมองตามของเล่นไปมา
อายุ  8 สัปดาห์-  ถือของเล่นที่มีสีสันสดใส เด็กจะสนใจ
อายุ  3 เดือน-  มองของเล่นที่แขวนอยู่ เด็กจะรู้จักการสังเกตมากขึ้น
อายุ  4 เดือน-  จะแสดงความตื่นเต้นออกเมื่อเด็กมีอารมณ์ต่างๆ
อายุ  5 เดือน-  เด็กจะแสดงพฤติกรรมมากขึ้น
อายุ  6 เดือน-  จะสนใจกระจกเงา เริ่มชอบอาหารที่พ่อแม่ให้กิน
อายุ 8 เดือน-  รู้จักชื่อของตนเอง รู้จักคำว่า "ไม่"
อายุ  9 เดือน-  แสดงความปรารถนามากขึ้น  เริ่มสนใจสิ่งต่างๆมากขึ้น
อายุ  10 เดือน-  ตบมือ โบกมือได้
อายุ  11 เดือน-  รู้จักเกมง่ายๆ วางของตรงตำแหน่ง
อายุ  12 เดือน-  ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ผู้ใหญ่หัวเราะ ชอบอ่านหนังสือ
อายุ  15 เดือน-  เริ่มแสดงว่าทำอะไรได้เองแล้ว
อายุ  21 เดือน-  เด็กจะสนใจแล้วให้พ่อแม่ไปดู
อายุ  2 ปี-  เล่นอะไรคนเดียวได้แล้ว
อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาเด็กแรกเกิด-2ปี

จากการดูบรรยายวีดีโอ
เด็กอายุ 1 เดือน
  เด็กจะเริ่มมองหน้าแม่  เริ่มรู้รสสัมผัสต่างๆ แม่ต้องอุ้มลูกบ่อยๆ ยิ้มแย้มสบตาบ่อยๆ ให้กินนมแม่อย่างเดียว ให้ลูกสัมผัสกับแม่มากที่สุด
เด็กอายุ 2 เดือน
  เริ่มคุยอ้อแอ้ เรียนรู้เสียงต่างๆ มองตามเสียงต่างๆ ดีใจเมื่อได้กินนม ใช้ของเล่นสีสดใสให้ลูกมองตาม แขวนออกจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอก พ่อแม่ควรทำเสียงต่างๆ ให้ลูกมองตาม ลูกเริ่มชันคอได้แล้ว อาจเปลี่ยนให้ลูกนอนบนที่นอนนุ่มๆ ให้ดื่มนมแม่อย่างเดียว
เด็กอายุ 3 เดือน
  เริ่มชันคอได้ตรง เริ่มโต้ตอบได้แล้ว บริเวณที่นอนควรเป็นที่ถ่ายเทได้สะดวก พ่อแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าลูกยังไม่สบตา ไม่นอนคว่ำ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ควรสื่อสารกับลูกบ่อยๆ

กลุ่ม 4

  พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4ปี

อธิบายพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กอายุ3-4ปี

จากการดูบรรยายวีดีโอ
  พัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ควรส่งเสริมไปเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของเด็ก เช่นทางด้านภาษาจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าจะมีความสนใจโต้ตอบกัน

กลุ่ม 5 

ดูเพื่อนอีกคนแอบดู

จากการดูบรรยายวีดีโอ
  อายุ 4-6 ปี
จะเป็นช่วงที่มีพัฒนาการมากขึ้น เด็กสามารถบอกชื่อตนเองได้จะถามว่า "ทำไม อะไร" เข้าใจได้ง่าย เด็กมักจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่มากขึ้น เด็กจะอายเมื่อมีคนมาสัมภาษณ์หรือสอบถาม จะทำพฤติกรรมตามผู้ใหญ่เมื่อเด็กมีความสนใจสิ่งนั้น

กลุ่ม 6

แนวคิดนักจิตวิทยาการเรียนรู้
1.การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ  ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร  ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้

            ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4  ประการ คือ
           1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
            2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
            3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
            4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก

การนำความรู้ไปใช้

            1.ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
            2.พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
            3.ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
            4.ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
            5.พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน

กลุ่ม  7

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านวีดีโอ

จากการดูบรรยายวีดีโอ
     การเล่นและการเข้าร่วมสังคมของเด็ก  การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจะเป็นการที่เด็กพยายามช่วยเหลือตนเอง  การเรียนรู้เกิดจากการเล่นจะช่วยพัฒนาการของเด็ก เด็กจะเริ่มจับกลุ่มอายุ 2-3 ปี มากที่สุด  เด็กจะช่วยเหลือตนเองมากขึ้น การเรียนรู้มาจากสัมผัสทั้ง 5

กลุ่ม  8

องค์ประกอบของภาษา

เพื่อนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเสียง

จากการดูบรรยายวีดีโอ
ประกอบด้วยเสียง >>> การอ่าน     >  ลักษณะการอ่าน
         ระบบเสียง > ตัวอักษร
               ไวยากรณ์ > คำ
                      > ประโยค
               ความหมาย > ศัพท์
                       > ประโยค
เสียง"เฮะ" เสียงที่เด็กจะรู้เปียกชื้น เหนียวตัว เด็กจะรู้สึกไม่สบายตัว
เสียง"แม่" จะมักเป็นคำแรกที่เด็กพูดได้
การสอนพูด เด็กจะพยายามพูดตามที่ผู้ใหญ่พูดและจะพยายามทำให้เหมือนมากที่่สุด

กลุ่ม 10

จากการดูบรรยายวีดีโอ
การเรียนแบบภาษาธรรมชาติ

หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
    ภาษาและธรรมชาติ Whole Language
การสอนภาษาของเด็กอนุบาล เด็กแรกเกิดจะเน้นทำไวยากรณ์ต่อให้ฝึกเด็กก็ยังอ่านไม่ออก ควรหาการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก เด็กจะเน้นจำความหมาย การสอนแบบธรรมชาติไม่ไใช่การสอนๆ จะสอนเรื่องต่างๆรวมไปด้วย เด็กจะต้องเรียนภาษาที่มีความหมายกับตัวเด็ก ภาษาไม่ว่าจะเป็นทักษะอะไรเด็กควรนำไปใช้ได้ อย่าคาดหวังว่าเด็กจะเรียนรู้เหมือนกันหมดทุกคน เป็นความคาดหวังที่ไม่ถูกต้อง เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ควรจัดกิจกรรมที่บูรณาการทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
     การอ่านที่หลากหลายเป็นสิ่งจำเป็น การอ่านมี 3 รูปแบบ
1.การอ่านแบบอิสระ
2.การอ่านร่วมกัน
3.การยอมรับในสิ่งที่เด็กทำ
     ให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ครูควรเข้าใจพัฒนาการของเด็ก การเขียนของเด็กอนุบาลไม่ใช่การเขียนของเด็กประถมศึกษา อย่าคาดหวังกับเด็ก ภาษาของเด็กไม่จำกัดขอบเขต ครูไม่ควรไปดุด่าว่าเด็กว่าถูกหรือผิด


สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม
3.ได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การนำไปใช้
1.นำความรู้ไปใช้ในการเรียนรู้ในระดับต่างๆที่สูงขึ้นไป
2.เข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นทำให้การสอนมีความง่ายมากยิ่งขึ้น
3.มีความรู้และแนวทางในการเรียน