วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 23    เดือน สิงหาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 11                      เวลาเรียน13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10  น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

พอเข้าห้องอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอตลกและก็ให้ดูภาพสื่อความหมายดังนี้
การอ่านโดยตีความจากภาพ
- อีดอกจิก        - หมาบางแก้ว      -รักก็แล้ว แคร์ก็แล้ว ทำใจเหอะ!!
  หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายแล้วก็นำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย
  - วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการต่างๆ
  - เพื่อกระตุ้นส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
  - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  - เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ

* สื่อที่เหมาะสมกับเด็ก คือ สื่อที่เป็นของจริง ถ้าหาของจริงไม่ได้ก็หาตุ๊กตามาแทน เรียกว่าสัตว์จำลอง
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
  -  เด็กเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส
  - เข้าใจได้ง่าย
  - เป็นรูปธรรม
  - จำได้ง่าย เร็วและนาน
ประเภทของสื่อการสอน
1. สื่อสิ่งพิมพ์
  - สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  - เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  - หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม ป้ายคำ
สื่อสิ่งพิมพ์
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
  - สิ่งของต่างๆ 
  - ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
สื่อวัสดุอุปกรณ์
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  - สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  - คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น วิทยุ
สื่อโสตทัศนูปกรณ์
4. สื่อกิจกรรม
  - วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  - ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  - เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ
สื่อกิจกรรม
6. สื่อบริบท
  - สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  - สภาพแวดล้อม
  - ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม แหล่งที่อยุ่อาศัย
สื่อบริบท
ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ให้ฟังเสียงแล้วบอกว่าเป็นเสียงอะไรบ้าง
เสียงสัตว์

เสียงดนตรี
และหลังจากนั้นให้ทำสื่อธรรมชาติ สามารถตั้งในห้องเรียนหรือไว้ที่ต่างๆให้เด็กดูได้





สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
1.สามารถนำการทำสื่อไปใช้สร้างสื่อต่างๆ
2.รู้จักใช้เวลาล่างให้เกิดประโยชน์
3.มีความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 16    เดือน สิงหาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 10                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน : 13.10  น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.

อาจารย์ให้ช่วยกันทำสื่อการเรียนมีดังนี้
1.การทำหุ่นนิ้วมืออาเซียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เป็นคนทำ
กำลังสนุกกับการทำงาน
2.การทำธงจับคู่อาเซียน
ใกล้จะสำเร็จแลัวจับคู่ธงอาเซียน
3.POP UP สัตวอ้าปากเกี่ยวกับอาเซียน
คนสวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียดจริงๆ
4.ธงอาเซียนชักภาพได้
ร่วมด้วยช่วยกันกลุ่มนี้

ผลงานของฉัน


การนำไปใช้
1.สามารถทำเป็นสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอาเซียนได้
2.เพื่อให้ทุกคนช่วยกันทำงาน
3.สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
4.รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ


วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 9    เดือน สิงหาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 9                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10  น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.


อาจารย์ให้ช่วยกันอภิรายโดยให้ช่วยกันเล่านิทานตั้งแต่ต้นจนจบ
นิทานเรื่องบทเรียนของกระต่ายน้อย
   "มีครอบครัวกระต่ายอาศัยอยู่1ครอบครัว สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียวครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อแม่ และลูก2ตัว น้องมีนิสัยชอบแย่งแครอทของพี่เสมอ และพี่ก็ยอมทุกครั้ง เพราะเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่แต่น้องกระต่ายก็เอาแต่ใจทุกๆเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งมีกระรอกมาแย่งแครอทน้องกระต่ายำป น้องกระตายก็ร้องไห้เสียใจเป็นอย่างมาก พี่กระต่ายก็เลยให้แครอทกับน้องกระต่าย น้องกระต่ายก็เกิดความสงสัยทำไมเอาแครอทมาให้หมดเลย พี่กระต่ายก็เลยบอกว่าเราเป็นพี่น้องกันต้องรู้จักการแบ่งปัน น้องกระต่ายคิดได้เลยหักแครอทแบ่งกับพี่กระต่ายคนละครึ่ง หลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจและมีน้ำใจกับผู้อื่นตลอดมา"

รวมงานของทุกกลุ่ม
การนำไปใช้
1.สามารถช่วยในการสอนโดยให้นักเรียนช่วยกันออกความคิดเห็น
2.สามารถช่วยฝึกทักษะทางภาษาให้กับเด็กได้
3.สามารถช่วยในการกล้าแสดงออกของเด็ก
4.นำไปจัดกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
5.นำไปช่วยในการช่วยให้เด็กรู้จักฝึกคิด ฝึกพูด



วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 2    เดือน สิงหาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 8                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : -.       เวลาเข้าเรียน : -        เวลาเลิกเรียน : -

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงการสอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี : 26  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7                      เวลาเรียน: 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน : 13.10 น.       เวลาเข้าเรียน : 13.10 น.       เวลาเลิกเรียน : 16.40 น.
"เนื้อหาการเรียนโดยสังเขป"

เมื่ออาจารย์เข้าห้องมาก็ได้ให้วาดภาพเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ

อาจารย์ให้เล่านิทานเป็นเรื่องราวต่อจากเพื่อนๆในห้องให้เป็นเรื่องราว
นิทานหรือเรื่องราวเป็นการฝึกทักษะทางภาษาได้ดี
หัวข้อต่อไปคือการประเมิน
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
  -การประเมินที่หลากหลายทำให้ผลที่ออกมาครบถ้วนถูกต้องชัดเจน
2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
  -บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
  -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
การประเมินอาจไม่สามารถบอกได้ในครั้งเดียว ทำการประเมินหลายๆครั้ง
หลายๆแบบ เพื่อให้ทราบผลที่ดี
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
ให้เด็กดูผลงานที่ตนเองสร้างมาแปะรอบห้องเพื่อให้เด็กเห็นสิ่งที่ตนเองทำ
รวมถึงได้เห็นผลงานของเพื่อนๆ เด็กก็จะได้เห็นพัฒนาการของตนเองด้วย
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
เด็กคนที่วาดภาพ คือภาพไอติมที่่ละลายแล้ว ครูไม่ควรตัดสินเลย
ควรรู้กระบวนการทำงานของเด็กจากการสอบถาม
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
เด็กแต่ละคนมีวิธีการคิดที่แตกต่างกัน มีความหมายที่ตรงกัน
แต่กระบวนการต่างๆ เด็กมีหลายวิธีมีความคิดที่มากกว่านั้น
อาจารย์ให้ฝึกกระบวนการคิดที่นอกกรอบ พลิกแพลงสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง



ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
  - การเขียนตามคำบอก
  - ช่วยเด็กเขียนบันทึก
  - อ่านนิทานร่วมกัน
  - เขียนประโยคเพื่อแจ้งข่าวเตือนความจำ
  - อ่านคำคล้องจอง
  - ร้องเพลง
  - เล่าสู่กันฟัง
  - เขียนส่งสารถึงกัน

อาจารย์นำผลงานของเด็กมาให้ดูจากโรงเรียนเกษมพิทยา



จากนั้นอาจารย์ก็เล่านิทานเล่าไปวาดไป 2 เรื่อง คือ
1.เรื่องสุนัขจิ้งจอก

2.เรื่องเต่าทอง




และเมื่อเรานำการเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไปก็เล่าซ้ำๆให้เด็กวาดรูปตามในครั้งต่อไป เพื่อฝึกทักษะทางภาษาและทักษะการวาดภาพตามไปด้วย